Powered By Blogger

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทศกาลผีตาโขน


           
              จัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า "งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับ งานบุญพระเวสหรือเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย สำหรับในปีนี้ ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประจำปี 2553 ขึ้นใน วันที่ 11-12 มิ.ย. 2552 โดยขบวนแห่ผีตาโขน จะจัดขึ้นใน วันที่ 12 มิถุนายน 2553 บริเวณวัดโพนชัยและหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยงานบุญหลวง ประเพณผีตาโขนของอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย เป็นประเพณีสำคัญ เพราะอยู่ในฮิดสิบสองเดือนสี่งานบุญผะเหวด (พระเวส)แหผีตาโขนแม้จะมีเล่นในอีสานถิ่นอื่นบ้าง แต่ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยเป็นที่รู้จักและ จะยังคงอยู่คู่กับ "พระธาตุศรีสองรัก" ตลอดไป


ต้นกำเนิดผีตาโขน
           กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดา ผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสอง พระองค์ กลับ เมือง "ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน



ชนิดของผีตาโขน
ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก

             ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่าง


             ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำ และเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน


การแต่งกายผีตาโขน
           ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากกาบมะพร้าวแกะสลักและสวมศีรษะ ด้ว




การละเล่นผีตาโขน
            เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมี การละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติมีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวมๆกัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน 

             วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อ นิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้ เกิดความสุข สวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถาและให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถาม ว่า "ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่" ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า "ไม่ใช่" พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า "ใช่ นั่นแหละ พระอุปคุตต์ที่แท้จริง" เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พาน แล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการ ทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัดซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรือ อยู่ตามที่ต่างๆก็จะมา ร่วม ขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้ดัง เสียงดัง 


          วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย เจ้าพ่อกวน นั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออก ให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่ แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่ 

        วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิตแก่ชีวิต



http://www.paiduaykan.com/76_province/Northeast/loie/pheetakhone.html

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษา


กำเนิดงานแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานี ดินแดนแห่งปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เป็นถิ่นกำเนิดของพระอาจารย์ทางวิปัสนา คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นต้น กล่าวกันว่า เมือง อุบลราชธานีเป็นต้นรากแห่งการขยายพระพุทธศาสนาและวัดวาอาราม ให้แพร่หลายยิ่งกว่าในทุก หัวเมืองในภาคอีสาน
เดิมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีจัดเฉพาะตามคุ้มวัดต่างๆ เท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444 เมืองอุบลราชธานีจัดงานบุญบั้งไฟ โดยทุกคุ้มจะนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวง ริมแม่น้ำมูล มีการแห่บั้งไฟไปรอบเมืองและจุดขึ้นไปบนท้องฟ้าทำให้เกิดอุบัติเหตุ บั้งไฟตกลงมา ถูกชาวบ้านตายในงาน มีการชกต่อย ตีรันฟันแทงกัน ก่อเหตุวุ่นวายไปทั้งงาน กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ สมัยนั้น ให้ยกเลิกงานประเพณีบุญบั้งไฟเสีย แล้วให้มาจัดงาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาแทน ในสมัยแรกๆ นั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษา แต่ชาวบ้านจะกล่าว ร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวย
ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาก่อน แล้วแห่รอบ เมือง ก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด


จากงานประจำปีท้องถิ่นสู่งานประเพณีระดับชาติ

การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัด ก็จัดตกแต่งต้นเทียนของวัดตนให้สวยงาม นำมารวมกันที่บริเวณทุ่งศรีเมืองเพื่อประกวดแข่งขันกัน จากงานของชาวบ้าน ก็พัฒนามาสู่การสนับสนุนอย่างจริงจังจากส่วนราชการ พ่อค้า ห้างร้านเอกชน ร่วมกับประชาชน ทายกทายิกาคุ้มวัดต่างๆ และใน ปี พ.ศ. 2519 จังหวัดอุบลราชธานีได้เชิญ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท. ในขณะนั้น) มาสังเกตการณ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาทางจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้งานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานประเพณีระดับชาติ โดยเฉพาะในปีท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand 2541-2542) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็น 1 ในงานประเพณีที่ถูกโปรโมตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติ
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนหลวงมาเป็นเทียนนำชัยขบวนแห่ แล้วจึงนำไปถวายยังอารามหลวงในจังหวัดอุบลราชธานี หมุนเวียนไปเป็นประจำทุกปี
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน


        จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่องานแต่ละปี ดังนี้


          ปี พ.ศ. 2542 มีชื่องานว่า "งานแห่เทียนพรรษา เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชา" เนื่องจากเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่มาของ "เทียนเฉลิมพระเกียรติฯ" ที่ทุ่งศรีเมือง


          ปี พ.ศ.2543 มีชื่องานว่า "หลอมบุญบูชา ถวายไท้นวมินทร์" มีความหมายว่า การหล่อเทียนพรรษาของชาวอุบลฯ เพื่อบำเพ็ญกุศลร่วมกัน การหล่อหลอมจิตศรัทธาให้เป็นหนึ่งเดียว เปรียบประดุจการหลอมบุญบูชา เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์


          ปี พ.ศ. 2544 มีชื่องานว่า "งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบลฯ" เนื่องจากเทียนพรรษาได้วิวัฒนาการไปจาก"ภูมิปัญญาดั้งเดิม" จนแทบจะจำเค้าโครงแต่โบราณไม่ได้ จึงได้มีการหันกลับมาทบทวนการจัดงานแห่เทียนพรรษา ตามภูมิปัญญาของชาวอุบลฯ ตั้งแต่เดิมมา


          ปี พ.ศ. 2545 มีชื่องานว่า "โรจน์เรือง เมืองศิลป์" ด้วยเหตุที่ ททท.ได้เลือกงานแห่เทียนพรรษจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานที่โดดเด่นที่สุดของประเทศในเดือนกรกฎาคม ตามโครงการ "เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน" จึงจัดให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดเดือน อาทิ ได้เชิญช่างศิลป์นานาชาติประมาณ 15 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น มาร่วมแข่งขันการแกะสลักขี้ผึ้งตามสไตล์งานศิลปะแต่ละชาติ มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก มาชมงานตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม 2545 ชื่องาน "โรจน์เรือง เมืองศิลป์" เป็นคำย่อมาจากคำเต็มที่ว่า "อุบลฯ เมืองนักปราชญ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี"


          ปี พ.ศ. 2546 มีชื่องานว่า "สืบศาสตร์ สานศิลป์" เนื่องจากงานประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นการ "สืบทอดศาสนาและสืบสานงานศิลปะ" ดังคำกล่าวที่ว่า "เทียนพรรษา คือ ภูมิศิลปะแห่งศรัทธา" เพื่อความกระชับ จึงใช้ ชื่อว่า "สืบศาสน์ สานศิลป์" แต่โดยเหตุที่มีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า คำว่า "ศาสตร์" มีความหมายกว้างกว่า ชื่องานจึงเป็น "สืบศาสตร์ สานศิลป์" ด้วยเหตุนี้


          ปี พ.ศ. 2547 มีชื่องานว่า "ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา เทิดไท้ 72 พรรษา มหาราชินี" เนื่องจากเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ พระแม่-แม่พระ ของแผ่นดิน


          ปี พ.ศ. 2548 มีชื่องานว่า "น้อมรำลึก 50 ปี พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ" เนื่องจากเมื่อวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2498 ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จเยือนอุบลราชธานี ยังความปลาบปลื้มปิติแก่ชาวอุบลฯ เป็นล้นพ้น เพราะตั้งแต่สร้างบ้านเมืองมาเกือบ 200 ปี ยังไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จเยี่ยม หรือทรงใกล้ชิดกับราษฎรอย่างไม่ถือพระองค์เช่นนี้ ชาวอุบลฯ ทุกหมู่เหล่า ต่างพร้อมน้อมรำลึกด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเหล้าล้นกระหม่อม พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ ปิติล้นพ้น ตลอดระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมาและตลอดไป


          ปี พ.ศ. 2549 มีชื่องานว่า "60 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล งามตระการเทียนพรรษา เทิดราชัน" พื่อแสดงความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี


          ปี พ.ศ. 2550 มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม เลิศล้ำ เทียนพรรษา ปวงประชาพอเพียง"  เนื่องจากเป็นปีมหามงคล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย และการน้อมนำแนวพระราชดำรัสมาใช้ดำรงชีวิต


          ปี พ.ศ. 2551 มีชื่องานว่า "เมืองอุบลบุญล้นล้ำ บุญธรรม บุญทาน สืบสานตำนานเทียน"   เนื่องจากอุบลราชธานี มีสมญานามว่า "เมืองแห่งดอกบัวงาม" ซึ่งดอกบัว เป็นพฤกษชาติที่มีคติธรรมทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง อุบลราชธานีจึงมีวัฒนธรรมประเพณี ทำบุญทุกๆ เดือน คือการยึดถือ ฮีตสิบสองคองสิบสี่ (ฮีตสิบสอง คือจารีตที่ปฏิบัติแต่ละเดือน ตลอดปี จนเป็นประเพณีสืบต่อมา) ประเพณีแต่ละอย่างในฮีตสิบสอง ล้วนมีแต่ชื่อ ขึ้นต้นว่าบุญ หมายถึง ประเพณีที่มุ่งการทำบุญเป็นสำคัญ อุบลราชธานีจึงมี บุญล้นล้ำ ทั้งบุญธรรม บุญทาน อีกทั้ง งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีมาแต่โบราณ โดยเริ่มจากในสมัยแรกๆ เป็นเทียนเวียนหัว มัดรวมติดลาย วิวัฒนาการมาจนเป็น หลอมเทียน หลอมใจ หลอมบุญ สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี 2551


          ปี พ.ศ. 2552 มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม บุญล้ำเทียนพรรษา ประชาพอเพียง"   เนื่องจากอุบลราชธานีเป็น "อู่อารยวัฒนธรรม อุดมอรียทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี" ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม จึงเป็นความรุ่งเรือง สว่างไสว อุดมสมบูรณ์ ในธรรมที่สำคัญยิ่ง 3 ประการ คือ พุทธธรรม อารยธรรม และธรรมชาติ ประกอบกับ การทำบุญเข้าพรรษาที่อุบลราชธานี มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี จึงเป็นที่รวมทำบุญเข้าพรรษาของประชาชนทัวประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก ท่านที่มาทำบุญเดือนแปดที่เมืองอุบลฯ จึงเป็นการบำเพ็ญกุศล ได้รับ "บุญล้ำเทียนพรรษา" โดยทั่วหน้ากัน พร้อมกันนี้ ยังได้เสนอเน้นคำขวัญ ประชาพอเพียง ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ประชาชนพลเมือง จะมีความ พอเพียง ได้ ก็ด้วยคุณธรรมความพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพิเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำชีวิตให้อยู่ดีมีสุข ไม่มีความฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยาน ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มี งเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี 2552


          ปี พ.ศ. 2553 มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล"   เนื่องจากเมืองอุบลราชธานี มี ธรรม” 3 ประการ คือพุทธธรรม ชาวอุบลฯ มีความฝักใฝ่ในธรรม อารยธรรม คืออุดมด้วยอารยทรัพย์ อารยสงฆ์ และธรรมชาติ ตามถิ่นที่ตั้งเมืองอุบล คือ ดงอู่ผึ้ง จึงเป็นความรุ่งเรือง หรือ "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม" และที่ตั้งเมืองของจังหวัดอุบลราชธานี คือ ดงอู่ผึ้ง ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญในการทำเทียนพรรษา รวงผึ้งอุดมสมบูรณ์มาก สำนักพระราชวัง ได้นำขี้ผึ้งจากจังหวัดอุบลฯ ไปเพื่อทำเทียนพระราชทาน ประกอบกับ อุบลราชธานีมีสกุลช่างทุกสาขาวิชาช่างศิลปะ จึงสามารถรังสรรค์เทียนพรรษา ออกมาได้อย่างวิจิตรบรรจงตามจินตนาการ งามล้ำเทียนพรรษา และเนื่องจากประเพณีแห่เทียนพรรษาเกิดจาก ภูมิปัญญาชาวอุบลฯ เป็น ภูมิปัญญาชาวบ้านสืบสานเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่นก่อให้เกิด ภูมิพลังเมืองสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาคมเป็นปึกแผ่นมั่นคง แก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ในการร่วมเป็น ภูมิพลังแผ่นดิน


          ปี พ.ศ. 2554 มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล"   ใช้ชื่องานต่อเนื่องจากงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ปี 2553 กำหนดจะจัดงานระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2554 ณ บริเวณสนามทุ่งศรีเมือง โดยปีนี้จะมีความพิเศษกว่าทุกปี คือ มีการจัดทำต้นเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ เป็นการนำเทียนประเภทแกะสลักและติดพิมพ์ มารวบรวมในต้นเทียนเดียวกัน โดยฝีมือช่างเทียนระดับอาจารย์ 9 ท่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น การเฉลิมฉลองในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา และเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวจังหวัดอุบลราชธานี





วังน้ำเขียว

วังน้ำเขียว สวิสเซอร์แลนด์แดนอีสาน

         "วังน้ำเขียว" เป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ตอนใต้ของจังหวัดนครราชสีมา สำหรับที่มาของชื่อ "วังน้ำเขียว" นั้น ได้มาจากสภาพภูมิประเทศของที่นี่ เพราะพื้นที่ในแถบนี้มีวังน้ำที่ใสสะอาดงดงามเป็นธรรมชาติ ซึ่งสายน้ำนั้นใสจนมองเห็นเงาสะท้อนสีเขียวของต้นไม้ จึงเรียกพื้นที่นี้ว่า... "วังน้ำเขียว"นั่นเอง 

           ปัจจุบันวังน้ำเขียวมีการปกครอง แยกเป็น 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลวังน้ำเขียว ตำบลไทยสามัคคี ตำบลอุดมทรัพย์ ตำบลวังหมี และตำบลระเริง และมีพื้นที่ติดต่อกับ อำเภอนาดี อำเภอปักธงชัย อำเภอปากช่อง อำเภอเสิงสาง และอำเภอครบุรี

           อย่างไรก็ตาม ที่วังน้ำเขียวนอกจากจะมีธรรมชาติที่งดงาม อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมหนาแน่น เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และสภาพอากาศที่เหมาะสมแก่การเจริญของพรรณไม้ที่หลากหลายแล้ว ยังมีน้ำตกที่สวยงามและจุดชมวิว ที่สามารถมองเห็นผืนป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน ที่กลับคืนสู่ความสมบูรณ์ของผืนป่าดงพญาไฟในอดีต อีกทั้งยังมีผลไม้นานาชนิดให้เลือกสรร เช่น องุ่น กระท้อน ลิ้นจี่ ลำไยและผลไม้เมืองหนาวอีกมากมาย รวมทั้งยังมีสวนไม้ดอก - ไม้ประดับที่สวยงาม การปลูกผักปลอดสารพิษ และการเพาะเห็ดหอม ซึ่งเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย จึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะมาพักผ่อนเพื่อสัมผัสธรรมชาติ พร้อมๆ กับการศึกษาหาความรู้ไปด้วย

สถานที่ท่องเที่ยว

            
            น้ำตกวังจระเข้ น้ำตกที่สวยที่สุดของ ต.ไทยสามัคคี เพราะเป็นน้ำตกที่ทอดยาว และมีน้ำใสในแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำได้ตลอดทั้งปี น้ำตกแห่งนี้เป็นที่รองรับน้ำจากพื้นป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน และเป็นหนึ่งในสายน้ำที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกงของภาคตะวันออก บริเวณสองฝั่งของห้วยขมิ้นจะยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติที่ยังมีพื้นป่าอยู่มากมาย ทั้งนี้ ทางเข้าสู่วังน้ำตกเป็นทางเดินเท้า จึงเหมาะแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินป่า และศึกษาธรรมชาติ 


           อุทยานแห่งชาติทับลาน  เป็นป่าลานผืนใหญ่ผืนสุดท้ายของประเทศไทย เป็นอุทยานที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 2,240 ตารางกิโลเมตร (1,400,000 ไร่) พื้นที่เป็นที่ราบสลับกับภูเขา ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก โดยมีจุดสูงสุดอยู่บริเวณเขาละมั่ง เป็นแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดปราจีนบุรี และนครราชสีมา ความสูงประมาณ 992 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทั้งนี้ ป่าทับลานเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยขมิ้น ห้วยปลาก้าง ห้วยคำแซ ห้วยขี้แรด ห้วยมูลสามง่าม ห้วยภูหอม ห้วยกระทิง ห้วยลำเลข ห้วยกุดตาสี และห้วยลำดวน ซึ่งไหลรวมกันเป็นต้นน้ำมูล แม่น้ำสายสำคัญของภาคอีสาน 

            นอกจากนี้ ทับลานยังเป็นต้นกำเนิดของ ห้วยหินยาว ห้วยชมพู ห้วยสาลิกา ห้วยวังมิด และห้วยลำไยใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นน้ำบางปะกง แม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออก ด้านสัตว์ป่านักท่องเที่ยวจะได้พบกับ ช้างป่าเกือบ 40 เชือก เก้ง กวาง และนกนานาชนิด รวมทั้งยังมีสมุนไพรอีกมากมายหลายชนิด


อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน

ที่ตั้งและแผนที่
      อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ป่าดงลาน ท้องที่ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ ตำบลห้วยม่วง ตำบลวังสวาบ ตำบลนาฝาย ตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และป่าภูเปือย ท้องที่ตำบลภูกระดึง ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เนื้อที่ประมาณ 350 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 218,750 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16◦ 38' 48 " ถึง 16◦ 50' 56" เหนือ และอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 101◦ 42 '14" ถึง 102◦ 1' 20" ตะวันออก 

      ทิศเหนือ : จดตำบลวังกวาง อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบลศรีฐาน ตำบลผานกเค้า ตำบลภูกระดึง อำเภอกระดึง จังหวัดเลย 
      ทิศใต้ : จดตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ ตำบลห้วยม่วง ตำบลนาฝาย ตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ 
      ทิศตะวันออก : จดตำบลภูหาน อำเภอสีชมพู และตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 
      ทิศตะวันตก : จดแนวเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ 

      อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เรียกตามชื่อของภูเขาเทือกหนึ่งทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติที่มีหน้าผาสูงชันคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มองดูเหมือนกับผ้าม่านผืนใหญ่ อยู่ในท้องที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางกิโลเมตร หรือ 218,750 ไร่ 

      อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่ที่สมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ปัจจุบันผลจากการทำสัมปทานป่าไม้ทำให้พื้นป่าและจำนวนสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 1473/2532 ลงวันที่ 27 กันยายน 2532 มอบหมายให้ นายพนม พงษ์สุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 4 ให้สำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าดงลาน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และป่าภูเปือย อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และพื้นที่ป่าใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพื้นที่พบว่า เป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธารและมีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะถ้ำและน้ำตก 

ขนาดพื้นที่
      218750.00 ไร่

ภาพแผนที่


ลักษณะภูมิประเทศ 
        อุทยานแห่งชาติภูผาม่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นเทือกเขาหินปูนที่มีความสูงชันสลับซับซ้อนกันเป็นแนวยาวสลับกับที่ราบลุ่มเชิงเขาสูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 200 - 1,000 เมตร เป็นแนวเทือกเขาทอดยาวจากอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวเปรียบเสมือนปราการธรรมชาติกั้นแดนระหว่างอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และอำเภอผาม่าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยมี "ภูฮี" เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในพื้นที่โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,000 เมตร ด้านทิศเหนือมีลำห้วยที่สำคัญหลายสายไหลลงสู่ลำน้ำพองทางทิศเหนือ และไหลลงสู่ลำน้ำเชิญทางด้านทิศใต้

       บริเวณท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ท้องที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน และติดต่อกันเป็นเทือกเขายาวบางแห่งเป็นที่ราบกว้างและมีน้ำซึมตลอดปี

       บริเวณท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงลาน ท้องที่อำเภอชุมแพ และอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ส่วนมากเป็นภูเขาหินปูน และภูเขาขนาดเล็กติดต่อกันหลายเทือก
และมีบริเวณบางแห่งเป็นที่ราบ 

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ ของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่
       1)ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และพายุดีเปรสชั่นจากทะเลจีนใต้ นำพาเอาความชุ่มฉ่ำของฝนมาสู่พื้นที่

       2)ฤดูหนาว จะเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดมาจากประเทศจีน นำพาเอาความหนาวเย็น และ แห้งแล้ง มาสู่พื้นที่

       3)ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคมโดยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งลมนี้จะพัดเอาลมเข้ามาสู่พื้นที่ในฤดูร้อน 

สถานที่ท่องเที่ยว








http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1070
http://www.youtube.com/watch?v=68D5K7-5HQg

อุทยานแห่งชาติภูเรือ

ลักษณะทั่วไป

        อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศลาว รูปพรรณสันฐานของภูเรือมีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือใหญ่บนยอดดอยสูงเป็นภูผาสีสันสะดุดตาหินบางก้อนมีลักษณะเหมือนถูกปั้นแต่งไว้ ชาวบ้านเรียกว่า กว้านสมอโดยรอบๆ จะเห็นยอดดอยเป็นขุนเขาน้อยใหญ่ใกล้เคียงเป็นฝ้าขาวด้วยละอองน้ำ หมอก ปกคลุมไว้ท่ามกลางป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 120.84 ตารางกิโลเมตร

       ในปี พ.ศ. 2519 อธิบดีกรมป่าไม้ เดินทางมาราชการที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง นายสุจินต์ เพชรดี ปลัดจังหวัดเลย ได้ให้ความเห็นว่า ควรส่งเสริมป่าภูเรือให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด จากนั้นจังหวัดเลยจึงให้ทางอำเภอภูเรือสำรวจพื้นที่ป่าภูเรือ ซึ่งอำเภอภูเรือได้รายงานถึงจังหวัดเลยว่า พื้นที่ป่าภูเรือมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามสำคัญหลายแห่ง เช่น ป่าไม้ น้ำตก ทิวทัศน์ เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นของป่าภูเรือ ท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ปรากฏว่า ป่าแห่งนี้อยู่ในเขตป่าหมายเลข 23 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 ให้รักษาไว้ให้เป็นป่าถาวรของชาติ

        พื้นที่ป่าภูเรือประกอบด้วยทิวเขาสูง สลับซับซ้อนเรียงรายเป็นรูปต่างๆ น่าพิศวงสลับกับที่ราบเป็นบางส่วน สาเหตุที่ขนานนามว่า ภูเรือเพราะมีภูเขาลูกหนึ่งมีชะโงกผายื่นออกมาดูคล้ายสำเภาใหญ่ และที่ราบบนยอดเขามีลักษณะคล้ายท้องเรือตลอดจนมีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

 ขนาดพื้นที่
      75525.00 ไร่


ภาพแผนที่

ลักษณะภูมิประเทศ 
       อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาหินทรายเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นเป็นหินแกรนิตสลับกันไป ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้มีที่ราบสูงสลับกับ ยอดเขาสูงทั่วไป มียอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดภูเรือ มีความสูงถึง 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยังมียอดเขาที่สำคัญ คือ ยอดเขาภูสัน มีความสูง 1,035 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดภูกุ มีความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะเช่นนี้เองจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญก่อให้เกิดลำธารหลายสาย เช่น ห้วยน้ำด่าน ห้วยบง ห้วยเถียงนา ห้วยทรายขาว ห้วยติ้ว และห้วยไผ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกห้วยไผ่ที่สวยงามแห่งหนึ่ง 

ลักษณะภูมิอากาศ
       ด้วยอุทยานแห่งชาติภูเรืออยู่ที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศไทย และอยู่บนยอดเขาสูง จึงทำให้มีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเรียกว่า แม่คะนิ้งผู้ที่จะไปพักผ่อนควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะผจญกับความหนาวเย็น 

สถานที่ท่องเที่ยว
ยอดภูเรือ 
       เป็นจุดที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่สูงประมาณ 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นหน้าผาสูงชัน พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าสนเขา ทั้งสนสองใบและสนสามใบ สลับกับลานหินธรรมชาติ ต้องเดินขึ้นเขาจากผาโหล่นน้อยมาประมาณ 700 เมตร จากจุดนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามได้รอบด้านกระทั่งเห็นแม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขง ซึ่งกั้นพรมแดนไทย ลาว บนยอดเรือยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาวาบรรพต ซึ่งชาวภูเรืออัญเชิญมาจากอยุธยาด้วย จากยอดภูเรือมีเส้นทางเดินป่าผ่านบริเวณที่มีดอกไม้เล็กๆ เช่น กระดุมเงิน ดาวเรืองภู เปราะภู ซึ่งออกดอกสวยงามในช่วงหน้าหนาว ที่ป่าสนบริเวณ ทุ่งกวางตาย มีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม นอกจากนั้นยังมี ลานหินพานขันหมาก เป็นลานหินแตกเป็นรอยตื้นๆ ที่จะพบดอกไม้ที่ชอบขึ้นตามลานหิน เช่น เอื้องม้าวิ่ง อยู่ทั่วไป เส้นทางเดินป่าจะวกกลับไปลานกางเต็นท์ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


สวนหินพาลี 
       เป็นลานหินกว้างใหญ่ เต็มไปด้วยก้อนหินรูปทรงแปลกตาตั้งอยู่เรียงราย บางก้อนคล้ายเสาหินสูง บางก้อนคล้ายดอกเห็ด สวนหินพาลีอยู่ใกล้บริเวณลานกางเต็นท์
กิจกรรม :เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา



ถ้ำไทร 
       อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 2 (ภูสน) ประมาณ 500 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ้ำไทรเป็นถ้ำหินทราย ปากทางเข้าถ้ำจะแคบมากต้องลงในทางดิ่งประมาณ 30 เมตร เมื่อถึงที่ราบภายในถ้ำจะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ภายในถ้ำประกอบด้วยหินทรายเป็นแผ่นๆ ซึ่งจะอยู่ตามเพดานถ้ำ ส่วนพื้นล่างจะเป็นลักษณะเม็ดทรายที่ไหลมากับน้ำ และในบริเวณปลายสุดของถ้ำจะมีสายธารน้ำไหลตลอดเวลา บางช่วงจะมีลักษณะเป็นน้ำตกที่เกิดภายในถ้ำ และเมื่อสายน้ำกระทบแสงไฟจะเกิดเป็นประกายที่สวยงาม ภายในถ้ำจะมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ 
อุทยานแห่งชาติยังมีจุดเด่นที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น ลาดหินแตก หินค้างหม้อ หินวัวนอน หินพระศิวะ สวนหินเต่า ศาลารับเสด็จ ลาดเหมือนแอ ลานสาวเอ้ ทุ่งหินเหล็กไฟ น้ำตกแก่งสุข และสระสวรรค์ ตามตำนานรักภูทุ่ง (ภูเรือ) และภูครั่ง เป็นต้น






http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1016
http://www.moohin.com/049/049m002.shtml